สมาคมมีความยินดีที่จะมีโอกาส ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน
วิธีการออกแบบงานเพื่อการชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน รวมถึงคุณสมบัติพิเศษของการชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน ทั้งระดับนักศึกษา นักอุตสาหการ ประชาชนทั่วไป เพื่อขยายการรับรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็กชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot Dip Galvanize)

ประโยชน์ของการชุบเคลือบสังกะสี
- ต้นทุนต่ำ ต้นทุนในการป้องกันสนิมเหล็กน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบป้องกันสนิมวิธีอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติและผลลัพธ์ใกล้เคียง
- อายุยาว เหล็กชุบสังกะสีป้องกันสนิมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้กว่า 50 ปีในสภาพแวดล้อมทั่วไปโดยไม่ต้องการ การซ่อมบำรุงรักษา

มีมาตรฐานรับรองคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล อาทิ EN ISO 1461, ASTM A123 และ มอก.3198
- ง่ายต่อการตรวจสอบคุณภาพ ผู้ผลิตไม่สามารถบิดเบือนคุณภาพการชุบโดยที่ไม่ถูก สังเกตเห็น
- กระบวนการผลิตที่รวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างและติดตั้ง
- สามารถทาสีบนผิวเคลือบ ช่วยเพิ่มอายุการใช้งานและเพิ่มความสวยงาม

ชิ้นส่วนเหล็กขนาดใหญ่ที่นิยมชุบ HDG
การชุบ HDG ช่วยเพิ่มความทนทานและป้องกันการกัดกร่อนของชิ้นส่วนเหล็กและโลหะอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
- เสาไฟส่องสว่างทางหลวง เสาฟ้าเหล็กติดตั้งโคมไฟส่องสว่างสำหรับชุมชน หมู่บ้านจัดสรรและสวนสาธารณะ
- แผ่นการ์ดเรล (ราวเหล็กลูกฟูกกันตก) และเสาการ์ดเรล
- เสาธงชาติ
- เหล็กโครงสร้าง เหล็กรูปพรรณ ท่อประปา เหล็กแผ่นบาง เหล็กแผ่นลาย จากโรงงานผลิตเหล็ก
- โครงหลังคาสําเร็จรูป smart truss ชุบ HDG ไม่ต้องทาสี ลดเวลาการทำงานของช่างหลังคาและลดค่าใช้จ่าย
- โครงสร้างสะพาน ชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานที่เป็นเหล็กมักชุบ HDG เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสนิม
- ท่อส่งน้ำและก๊าซ ท่อขนาดใหญ่ที่ใช้ในการส่งน้ำและก๊าซมักชุบ HDG เพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน
- โครงสร้างอาคาร คานและเสาในโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่มักชุบ HDG เพื่อความทนทาน
- ถังเก็บน้ำและสารเคมี ถังขนาดใหญ่ที่ใช้เก็บน้ำและสารเคมีมักชุบ HDG เพื่อป้องกันการกัดกร่อน
- ลวดสลิง ลวดหนาม ลวดตาข่าย รั้วไวร์เมช มักชุบ HDG เพื่อป้องกันการกัดกร่อนจากสภาพอากาศ

ความหนาของชั้นสังกะสีที่ชุบ HDG ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
- ขึ้นอยู่กับความหนาของเหล็ก (Steel Thickness)
โดยทั่วไป ความหนาของชั้นสังกะสีที่แนะนำควรอยู่ระหว่าง 65-200 ไมครอน (µm) หรือ ตามมาตรฐานสากล เช่น ISO 1461 หรือมาตรฐาน ASTM A123 หรือ มอก.3198
- สำหรับเหล็กโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีความหนามาก ความหนาของชั้นสังกะสีที่ชุบควรอยู่ที่ 100-200 ไมครอน (µm)
- สำหรับเหล็กแผ่นเหล็กบาง ความหนาของชั้นสังกะสีอาจอยู่ที่ 60-75 ไมครอน (µm)

วิธีการตรวจสอบคุณภาพการชุบ HDG
การตรวจสอบคุณภาพการชุบ HDG สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การวัดความหนาของชั้นสังกะสี
- เครื่องมือใช้เครื่องวัดความหนาแบบไม่ทำลาย (Non-destructive thickness gauge) เช่น เครื่องวัดความหนาแบบแม่เหล็ก (magnetic thickness gauge) หรือเครื่องวัดความหนาแบบกระแสไหลวน (Eddy current thickness gauge)
- วิธีการวัดความหนาของชั้นสังกะสีในหลายจุดบนชิ้นงาน เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยที่แม่นยำ และตรวจสอบว่าความหนาตรงตามมาตรฐานหรือไม่

2. การตรวจสอบการยึดเกาะของชั้นสังกะสี
- วิธีการใช้การทดสอบการขูดขีด (Adhesion test) หรือการทดสอบการกระแทก (Impact test) เพื่อตรวจสอบว่าชั้นสังกะสียึดเกาะกับพื้นผิวเหล็กได้ดีหรือไม่

3. การตรวจสอบความสม่ำเสมอของผิวชิ้นงานที่ชุบ
- วิธีการตรวจสอบด้วยสายตา (Visual inspection) เพื่อหาข้อบกพร่อง เช่น มองหารูพรุน, มองหารอยขีดข่วน, หรือดูการกระจายตัวที่ไม่สม่ำเสมอของชั้นสังกะสี
4. การตรวจสอบน้ำหนักของชั้นสังกะสี
- วิธีการใช้การชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการชุบ เพื่อคำนวณน้ำหนักของชั้นสังกะสีที่เพิ่มขึ้น ตามมาตรฐาน ISO 1461 หรือ ASTM A123

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของเหล็กชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน
แม้ความหนาของชั้นสังกะสีจะเหมาะสม แต่ปัจจัยอื่นๆ ก็ส่งผลต่ออายุการใช้งานเช่นกัน ได้แก่
- สภาพแวดล้อม ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงหรือใกล้ทะเล (ที่มีเกลือ) ชั้นสังกะสีอาจสึกกร่อนเร็วขึ้น
- การออกแบบชิ้นงาน
- การบำรุงรักษา การทำความสะอาดและตรวจสอบสภาพเป็นประจำจะช่วยยืดอายุการใช้งาน
